Binary Graphics

Binary MRIS EXPERIENCE

ประสบการณ์และความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง


Binary MRIS : โครงการพัฒนาระบบร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

"จากจุดเริ่มต้นของปัญหา สู่แนวทางการพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้ เกิดผลสำเร็จของโครงการ ตลอดถึงแผนและแนวทางในการพัฒนาระบบต่อไป"

×

ไบนารี กราฟิก : Binary MRIS ในภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก Binary Medical Resources Imaging System เป็น ระบบจัดการทรัพยากรภาพทางการแพทย์ คือ ภาพทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นส่วนงานไหนก็ตาม เราสามารถจะนำเข้าระบบและนำไปจัดการได้ด้วยวิธีการจัดการจากส่วนกลาง

คุณหมอ : ปัญหาผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล คือการรอคอยแฟ้มเวชระเบียน แฟ้มเวชระเบียนหาย แฟ้มเวชระเบียนหาไม่พบ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการตรวจสอบหรือว่านำไปใช้ในการวิจัย ที่สำคัญที่สุดคือแพทย์มีภาระงานมาก ไม่มีเวลาพอที่จะคีย์ข้อมูลเข้าไปในระบบของ HIS ได้ โรงพยาบาลจึงต้องการหาระบบจัดเก็บเอกสารที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมกับระบบ HIS ของโรงพยาบาล

คุณหมอ : เราต้องการยกเลิกการสืบค้นเวชระเบียน โดยให้แพทย์ดูได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง สามารถดูได้จากทุกที่ทุกเวลา ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล กำหนดมาตรฐาน ชนิด และประเภทของเอกสารที่เข้าไปในระบบของโรงพยาบาล สุดท้ายจะต้องเชื่อมโยงเข้าระบบของ HIS, LIS และ PACS ของโรงพยาบาลได้อย่างดี

ไบนารี กราฟิก : ไบนารี กราฟิก พัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหลายๆ ส่วน และสามารถสร้างนวัตกรรมต่อยอดขึ้นได้ ปกติแล้ว ซอฟท์แวร์จัดเก็บทั่วๆ ไป จะเก็บแฟ้มเวชระเบียนด้วยวิธีการสแกนภาพแต่เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่เราทำ การสแกนเก็บแฟ้มเวชระเบียน เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่เราทำมากกว่านั้น คือ การเก็บเอกสารที่เป็นภาพจากอุปกรณ์โดยตรง และการจัดเก็บเอกสารที่มาจากการเขียนบนบอร์ดอิเลคทรอนิกส์ เช่น การทำ E-Form, การที่แพทย์ใช้ปากกา เขียนโดยตรงกับตัวอุปกรณ์ที่เป็น Interactive Pen Display และสามารถที่จะ Bypass เรื่องของกระดาษ เรื่องของการพิมพ์ เรื่องของการทำสำเนาและจัดเก็บไปได้เลย

คุณหมอ : แผนการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา กำลังดำเนินการอยู่ คือ

  • รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่กระจัดการะจายอยู่ตามที่ต่างๆ เข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง
  • เชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ทางการแทพย์
  • ลดการใช้กระดาษด้วยวิธีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยบนหน้าจอสัมผัสโดยตรง และ
  • พัฒนาแบบฟอร์มอิเลคทรอนิกส์ เพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว ในการดูแลผู้ป่วย
ทั้งนี้จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องกระดาษ อันจะเป็นการประหยัดภาษีอากรของประชาชน

ไบนารี กราฟิก : สิ่งที่เราเข้ามาแก้ไขในปัจจุบัน คือระบบ Work Flow เราพัฒนาตัว Software ขึ้นมาเพื่อรับส่งภาพจากตำแหน่งที่ 1 ไปตำแหน่งที่ 2 แบบ Real Time เพื่อลดการใช้กระดาษในการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน

ไบนารี กราฟิก : Software ที่เราพัฒนาขึ้นมา ถ้ามองในแง่ของการใช้งานที่เป็นลักษณะ E-Form ต่อไปในอนาคต จะเป็นเรื่องของการอ่านตำแหน่งการ Mark, การขีดเส้น หรือการเช็คตำแหน่งในตัวเอกสาร ทันทีที่เราเช็คตำแหน่งได้ เราสามารถจะถอดค่าได้ว่า ตำแหน่งนี้ จะให้แปลงข้อมูลเป็นค่าอะไร เพื่อนำข้อมูลเข้าไปที่ระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป จะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยลดความผิดพลาดหลายๆ อย่างได้

ไบนารี กราฟิก : สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณทาง SIPA เป็นอย่างมาก ที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมนวัตกรรมที่ทางบริษัทได้พัฒนาขึ้นมา

จุดเริ่มต้นของปัญหาและที่มาของโครงการเป็นอย่างไร?

Binary MRIS ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภาพเอกสารทางการแพทย์ เป็นนวัตกรรมสำคัญ ที่เกิดจากการผสมผสานเทคโนโลยี จำนวนมากเข้าด้วยกัน เช่น ระบบซอฟท์แวร์เฉพาะทาง อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสแกนเนอร์ความเร็วสูง อุปกรณ์หน้าจอสัมผัส ระบบฐานข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย เป็นต้น

ปัญหาและความต้องการของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ปัญหาการรอคอยการค้นหาแฟ้มกรณีผู้ป่วยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า
  • ปัญหาการค้นหาแฟ้มไม่พบ แฟ้มหาย หรืออยู่ระหว่างการถูกยืมเพื่อการตรวจสอบหรือการทำวิจัย
  • ปัญหาความเร็วในการจัดเก็บ การเรียกใช้ ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ รวมไปถึงเสถียรภาพของระบบ
  • ปัญหาแพทย์มีภาระงานในการให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ไม่สามารถบันทึกข้อมูลเข้าระบบ HIS โดยตรงได้ทัน ทำให้ต้องมีระบบการจัดการข้อมูลผู้ป่วย แบบผสมผสานระหว่างระบบภาพเอกสารทางการแพทย์ และระบบข้อมูล HIS
  • ต้องการยกเลิกการสืบค้นแฟ้มเอกสารผู้ป่วย โดยให้แพทย์สามารถเรียกใช้ภาพเอกสารผู้ป่วย จากระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง
  • ต้องการกำหนดมาตรฐานชนิด ประเภท สิทธิ์การเข้าถึง ระบบเอกสารผู้ป่วยของโรงพยาบาล
  • ต้องการระบบการรับส่งภาพเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานแบบ Real Time
  • ต้องการสืบค้นเอกสารผู้ป่วยย้อนหลังทุกที่ ทุกเวลาภายในโรงพยาบาล
  • ต้องการเชื่อมโยงระบบข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกันกับระบบHIS LIS และ PACS

Binary MRIS ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร?

ในปัจจุบันระบบการให้บริการสาธารณสุขของประเทศไทยมีการพัฒนาและก้าวหน้าไปมากในกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีสวัสดิการและระบบหลักประกันสุขภาพต่างๆ หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้อัตราการสูญเสียของผู้ป่วยลดลงอย่างมากในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งการพัฒนาเทคนิค ยา และวิธีการตรวจรักษาผู้ป่วยได้มีความก้าวหน้าไปอยางมากเช่นกัน และด้วยความก้าวหน้าในการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศดังที่ได้กล่าวมาแล้วส่งผลให้โรงพยาบาลต่างๆทั้งของรัฐ และเอกชนมีจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับจำนวนแพทย์และบุคคลกรทางการแพทย์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

ด้วยปริมาณงานและภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นของแพทย์ และบุคคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลของผู้ป่วยขึ้นอย่างมาก ทั้งในแบบระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ HIS (Hospital Information System: ระบบสารสนเทศข้อมูลผู้ป่วยสำหรับโรงพยาบาล) และแบบเอกสารซึ่งก็คือแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย ทำให้แพทย์และบุคคลากร เกิดความไม่สะดวกในการใช้งานและไม่สามารถใช้ข้อมูลที่มีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยปกติแล้ววงจรของเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยนอกจะประกอบไปด้วย
  • ผู้ป่วยเข้ามาลงทะเบียนรับการให้บริการกับโรงพยาบาล
  • สำหรับผู้ป่วยใหม่ เจ้าหน้าที่เวชระเบียนสร้างแฟ้มประจำตัวผู้ป่วยขึ้นนำส่งมาที่ห้องตรวจ
  • สำหรับผู้ป่วยเก่า เจ้าหน้าที่เวชระเบียนจะค้นหาแฟ้มเพื่อนำส่งมาที่ห้องตรวจ ส่วนกรณีของการนัดหมายเพื่อติดตามอาการก็จะทำการค้นแฟ้มไว้ล่วงหน้า
  • พยาบาลคัดกรองผู้ป่วย และบันทึกข้อมูลเบื้องต้นในเอกสารเวชระเบียน
  • แพทย์ตรวจดูประวัติการรับบริการ บันทึกอาการ การส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการต่างๆ ให้วิเคราะห์โรค วางแผนการรักษา สั่งทำหัตถาการ สั่งจ่ายยา นัดหมายเพื่อติดตามอาการ รวมไปถึงการรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยใน
  • เจ้าหน้าที่รวบรวมเอกสารผู้ป่วยทั้งหมดจัดเรียงเข้าแฟ้มเวชระเบียน
  • นำส่งแฟ้มเวชระเบียนคืนให้กับเจ้าหน้าที่เวชระเบียน
  • นำแฟ้มเข้าจัดเรียงและจัดเก็บในตู้เก็บเอกสาร
ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยนอก
  • การรอคอยการค้นหาแฟ้ม กรณีผู้ป่วยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า
  • การค้นหาแฟ้มไม่พบ เนื่องจาก แฟ้มหาย หรืออยู่ระหว่างการถูกยืมเพื่อการตรวจสอบหรือการทำวิจัย
  • เอกสารเสื่อมสภาพจากการใช้งาน
  • เอกสารถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติ เช่นไฟไหม้ น้ำท่วม แมลงกัดกินเอกสาร
  • การรวบรวมเอกสารเข้าจัดเก็บในแฟ้มไม่ครบถ้วน
  • ผู้ป่วยนำแฟ้มเวชระเบียนออกจากโรงพยาบาล

ซึ่งจากปัญหาที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง มีการพัฒนาวิธีการจัดเก็บ และให้บริการแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

  • การทำสำเนาแฟ้มด้วยระบบ Microfilm
  • การทำสำเนาแฟ้มด้วยการใช้เครื่องสแกนเนอร์ สแกนเอกสารเข้าระบบคอมพิวเตอร์แบบระบบไฟล์เอกสาร
  • การทำสำเนาแฟ้มด้วยการใช้เครื่องสแกนเนอร์ สแกนเอกสารเข้าระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีซอฟต์แวร์ระบบงานคอมพิวเตอร์ควบคุมการจัดเก็บเอกสาร
  • การให้บริการแพทย์สามารถสืบค้นแฟ้มเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ได้
  • การยกเลิกการเรียกใช้งานแฟ้มเวชระเบียน และเปลี่ยนระบบการทำงาน มาเป็นการเรียกดูประวัติการตรวจรักษา ผ่านทางระบบงานคอมพิวเตอร์ บันทึกข้อมูลใหม่ผู้ป่วยด้วยกระดาษ และนำส่งสแกนเข้าระบบต่อไป
  • ลดการใช้งานกระดาษ โดยบันทึกข้อมูลใหม่ของผู้ป่วย ด้วยอุปกรณ์เขียนด้วยหน้าจอสัมผัส เข้าระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง

Binary MRIS ระบบงานและซอฟท์แวร์

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงมีการพัฒนา Binary MRIS เพื่อตอบสนองความต้องการของโรงพยาบาล ทำให้เกิดระบบงานและซอฟต์แวร์ต่างๆ ดังนี้

  • Medical Records
  • Medical Image Creation
    • Document Scanning
    • Barcode Imaging Recognition
    • Heavy-duty Document Scanner Support
    • Hand Writing with Electronic Form
    • Interactive Pen Display (WACOM)
    • Image Printer Driver
    • File Importing (DICOM, JPG, J2K, TIF, BMP)
  • OPD Clinical Workflow
  • OPD/IPD to Pharmacy Workflow
  • Image Distribution
    • Doctor Portal Web/Windows Application
    • Image Printing Controller
  • Gross Imaging
  • Pathology & Scope Imaging
  • Forensic Medicine & Autopsy Imaging
  • Server Systems
    • Oracle Linux Operating System
    • Oracle Database RDBMS
    • Oracle GlassFish Application Server
    • Oracle VM and VMware Virtualization
    • Scale Out Expandable System Model

ผลสำเร็จที่ได้จากการนำระบบ Binary MRIS ไปใช้ในโครงการ เป็นอย่างไร?

  • ลดเวลาในการรอคอยการค้นหาแฟ้มกรณีผู้ป่วยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า
  • ลดปัญหาการค้นหาแฟ้มไม่พบ แฟ้มหาย หรืออยู่ระหว่างการถูกยืมเพื่อการตรวจสอบหรือการทำวิจัย เรื่องจากแพทย์สามารถเข้าใช้งานแฟ้มประวัติผู้ป่วยได้ผ่านระบบ
  • ลดเวลา เพิ่มความเร็วในการจัดเก็บ การเรียกใช้ ความยืดหยุ่นในการใช้งานการปรับแก้ รวมไปถึงความเสถียรของระบบ
  • ลดภาระงานในการให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ของแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ลง จากการจัดการข้อมูลผู้ป่วยแบบผสมผสานระหว่างระบบภาพเอกสารทางการแพทย์ และข้อมูลจากระบบHIS
  • สามารถยกเลิกการสืบค้นแฟ้มเอกสารผู้ป่วย โดยให้แพทย์สามารถเรียกใช้ภาพเอกสารผู้ป่วยจากระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง
  • สามารถกำหนดมาตรฐาน ชนิด ประเภท และ สิทธิ์การเข้าถึง ระบบเอกสารผู้ป่วยของโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลและรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยได้
  • สามารถรับส่งภาพเอกสารทางการแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานแบบ Real Timeได้
  • สามารถสืบค้นเอกสารผู้ป่วยย้อนหลังได้ทุกที่ ทุกเวลาภายในโรงพยาบาล ตามสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารนั้นๆของผู้ใช้งาน
  • สามารถเชื่อมโยงระบบข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกันกับระบบHIS, LIS และ PACS ของโรงพยาบาลได้

มีแผนและแนวทางในการพัฒนาต่อยอดระบบงานอย่างไร?

  • การรวบรวมข้อมูลภาพเอกสารผู้ป่วยที่กระจายอยู่ตามหน่วยงานๆ เข้ามาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
  • การพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูลภาพเอกสารผู้ป่วยจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น EKG, SCOPE, Camera, Smart Phone
  • การลดการใช้กระดาษของโรงพยาบาลลงด้วยการใช้วิธีการให้แพทย์เขียนลายเส้น/ลายมือ ลงบนอุปกรณ์หน้าจอสัมผัสโดยตรงแทนการใช้กระดาษ
  • การพัฒนาระบบงานให้อ่านแบบฟอร์มที่มีการทำเครื่องหมายเลือกตอบ และแปลผลเป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานต่อได้
ลิงค์ภาพถ่าย : ปี 2553 น้ำท่วมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

น้ำท่วมห้องเวชระเบียน > ไม่มีผลกระทบ > เรียกแฟ้มเวชระเบียนจาก Binary MRIS ได้