Binary Graphics

Binary MRIS ระบบจัดการทรัพยากรภาพทางการแพทย์


×

ไบนารี กราฟิก : Binary MRIS ในภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก Binary Medical Resources Imaging System เป็น ระบบจัดการทรัพยากรภาพทางการแพทย์ คือ ภาพทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นส่วนงานไหนก็ตาม เราสามารถจะนำเข้าระบบและนำไปจัดการได้ด้วยวิธีการจัดการจากส่วนกลาง

คุณหมอ : ปัญหาผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล คือการรอคอยแฟ้มเวชระเบียน แฟ้มเวชระเบียนหาย แฟ้มเวชระเบียนหาไม่พบ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการตรวจสอบหรือว่านำไปใช้ในการวิจัย ที่สำคัญที่สุดคือแพทย์มีภาระงานมาก ไม่มีเวลาพอที่จะคีย์ข้อมูลเข้าไปในระบบของ HIS ได้ โรงพยาบาลจึงต้องการหาระบบจัดเก็บเอกสารที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมกับระบบ HIS ของโรงพยาบาล

คุณหมอ : เราต้องการยกเลิกการสืบค้นเวชระเบียน โดยให้แพทย์ดูได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง สามารถดูได้จากทุกที่ทุกเวลา ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล กำหนดมาตรฐาน ชนิด และประเภทของเอกสารที่เข้าไปในระบบของโรงพยาบาล สุดท้ายจะต้องเชื่อมโยงเข้าระบบของ HIS, LIS และ PACS ของโรงพยาบาลได้อย่างดี

ไบนารี กราฟิก : ไบนารี กราฟิก พัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหลายๆ ส่วน และสามารถสร้างนวัตกรรมต่อยอดขึ้นได้ ปกติแล้ว ซอฟท์แวร์จัดเก็บทั่วๆ ไป จะเก็บแฟ้มเวชระเบียนด้วยวิธีการสแกนภาพแต่เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่เราทำ การสแกนเก็บแฟ้มเวชระเบียน เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่เราทำมากกว่านั้น คือ การเก็บเอกสารที่เป็นภาพจากอุปกรณ์โดยตรง และการจัดเก็บเอกสารที่มาจากการเขียนบนบอร์ดอิเลคทรอนิกส์ เช่น การทำ E-Form, การที่แพทย์ใช้ปากกา เขียนโดยตรงกับตัวอุปกรณ์ที่เป็น Interactive Pen Display และสามารถที่จะ Bypass เรื่องของกระดาษ เรื่องของการพิมพ์ เรื่องของการทำสำเนาและจัดเก็บไปได้เลย

คุณหมอ : แผนการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา กำลังดำเนินการอยู่ คือ

  • รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่กระจัดการะจายอยู่ตามที่ต่างๆ เข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง
  • เชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ทางการแทพย์
  • ลดการใช้กระดาษด้วยวิธีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยบนหน้าจอสัมผัสโดยตรง และ
  • พัฒนาแบบฟอร์มอิเลคทรอนิกส์ เพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว ในการดูแลผู้ป่วย
ทั้งนี้จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องกระดาษ อันจะเป็นการประหยัดภาษีอากรของประชาชน

ไบนารี กราฟิก : สิ่งที่เราเข้ามาแก้ไขในปัจจุบัน คือระบบ Work Flow เราพัฒนาตัว Software ขึ้นมาเพื่อรับส่งภาพจากตำแหน่งที่ 1 ไปตำแหน่งที่ 2 แบบ Real Time เพื่อลดการใช้กระดาษในการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน

ไบนารี กราฟิก : Software ที่เราพัฒนาขึ้นมา ถ้ามองในแง่ของการใช้งานที่เป็นลักษณะ E-Form ต่อไปในอนาคต จะเป็นเรื่องของการอ่านตำแหน่งการ Mark, การขีดเส้น หรือการเช็คตำแหน่งในตัวเอกสาร ทันทีที่เราเช็คตำแหน่งได้ เราสามารถจะถอดค่าได้ว่า ตำแหน่งนี้ จะให้แปลงข้อมูลเป็นค่าอะไร เพื่อนำข้อมูลเข้าไปที่ระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป จะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยลดความผิดพลาดหลายๆ อย่างได้

ไบนารี กราฟิก : สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณทาง SIPA เป็นอย่างมาก ที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมนวัตกรรมที่ทางบริษัทได้พัฒนาขึ้นมา

Success Story

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา : จุดเริ่มต้นของปัญหา >แนวทางการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีมาช่วย > ผลสำเร็จ

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อทีมงาน 02 028 9438 E-mail Us

Binary MRIS

Binary MRIS คือ Binary Medical Resources Imaging Systems เป็น ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภาพเอกสารทางการแพทย์ ภาพเอกสารทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น ส่วนงานไหนก็ตาม เราสามารถจะนำเข้าระบบ และนำไปจัดการได้ด้วยวิธีการจัดการจากส่วนกลาง ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภาพเอกสารทางการแพทย์ เป็นนวัตกรรมสำคัญ ที่เกิดจากการผสมผสานเทคโนโลยี จำนวนมากเข้าด้วยกัน เช่น ระบบซอฟต์แวร์เฉพาะทาง อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสแกนเนอร์ความเร็วสูง อุปกรณ์หน้าจอสัมผัส ระบบฐานข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่ ซอฟท์แวร์จัดเก็บเอกสารทั่วๆ ไป จะเก็บแฟ้มเวชระเบียนด้วยวิธีการสแกนภาพเพียงอย่างเดียว แต่ Binary MRIS สามารถทำได้มากกว่าการสแกนเก็บแฟ้มเวชระเบียน โดยสามารถเก็บภาพเอกสารจากอุปกรณ์โดยตรง และสามารถจัดเก็บเอกสารที่มาจากการเขียนบนบอร์ดอิเลคทรอนิกส์ เช่น การทำ E-Form, การที่แพทย์ใช้ปากกา เขียนโดยตรงกับตัวอุปกรณ์ที่เป็น Interactive Pen Display ทำให้สามารถ Bypass เรื่องของกระดาษ เรื่องของการพิมพ์ เรื่องของการทำสำเนาและจัดเก็บไปได้

#ระบบสำรองข้อมูลเวชระเบียน #เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา #สืบค้นรวดเร็ว #ลดเวลารอคอยแฟ้ม

  • โรงพยาบาลมีการเก็บข้อมูลในระบบ HIS ส่วนหนึ่ง อีกส่วนจะยังคงเก็บเป็นกระดาษ เพราะมีเอกสารบางส่วนที่เก็บในระบบ HIS ไม่ได้ Binary MRIS สามารถช่วย “รวบข้อมูล” ส่วนที่อยู่ในระบบ HIS และ ข้อมูลส่วนที่เป็นกระดาษ เป็น “เวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์ 1 แฟ้ม” ได้
  • สามารถค้นหา เปิดดูแฟ้ม ได้อัตโนมัติ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา สืบค้นได้รวดเร็ว ผู้ป่วยไปหน้าห้องตรวจ คลีนิคเห็นแฟ้มทันที ช่วยแก้ปํญหาเรื่องเวลาที่สูญเสียไปกับการรับส่ง รอคอย การเดินแฟ้มเอกสาร ทำให้โรงพยาบาลสามารถบริการผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น
  • การบริหารจัดการ การสแกน การนำข้อมูลแฟ้มประวัติเก่า-ใหม่เข้าระบบ ข้อมูลที่จัดเก็บไว้จะเป็น “ระบบสำรองข้อมูลเวชระเบียน”ช่วยลดปัญหา แฟ้มประวัติหาย หาไม่พบ ผู้ป่วยนำแฟ้มกลับบ้าน ต้องออกใบแทน สูญเสียรายได้ กรณีเกิดไฟไหม้ น้ำท่วม ไม่ต้องกังวลเรื่องแฟ้มประวัติเสียหาย เพราะมีระบบสำรองแล้ว ลดปัญหาเรื่องพื้นที่ที่ต้องใช้ในการจัดเก็บ การดูแลบริหารจัดการ การค้นหา แฟ้มกระดาษได้เป็นอย่างดี

Binary MRIS การรวบรวมภาพเอกสาร

สามารถรวบรวมข้อมูลภาพเอกสารผู้ป่วยทั้งหมดในโรงพยาบาลได้ดังนี้

  • ภาพจากการสแกนเอกสารด้วยเครื่องสแกนเนอร์ความเร็วสูง เช่น เอกสารเวชระเบียน รวมไปถึงบันทึกการตรวจรักษา ในแบบฟอร์มเฉพาะ ของแต่ละคลินิค
  • ภาพถ่ายพยาธิสภาพของผู้ป่วยในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพจากอุปกรณ์บันทึกภาพ เช่น กล้องถ่ายภาพทั่วไป กล้องจุลทัศน์, Smartphone, กล้องส่องอวัยวะภายใน, กล้องจุลทัศน์, อุปกรณ์ถ่ายภาพจอประสาทตา รวมไปถึงภาพถ่ายทางนิติเวชวิทยา รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์อื่นๆ
  • ภาพเอกสารที่ได้จากอุปกรณ์การแพทย์โดยตรง เช่น EKG, Ultrasound
  • ภาพที่เกิดจากการสร้างภาพเอกสารด้วยลายมือเขียน บนแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-form โดยใช้อุปกรณ์หน้าจอสัมผัส ซึ่งด้วยการใช้ e-form นี้จะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถลดค่าใช้จ่าย จำนวนมากที่เกิดจากการใช้งานกระดาษ เช่น การจัดหากระดาษ การพิมพ์ การทำสำเนา การสแกน และกรรมวิธีในการจัดเก็บและรักษาสภาพของเอกสาร

ซึ่งภาพเอกสารของผู้ป่วยทั้งหมดนี้ โดยทั่วไปจะไม่ได้รวบรวมไว้ ในระบบเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งหมด แต่กระจายอยู่ตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในเรื่องต่างๆ เช่น คลินิคเฉพาะทาง เวชระเบียน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ห้องปฏิบัติการในสาขาต่างๆ ของโรงพยาบาล จึงเป็นการยากที่แพทย์ จะสืบค้นข้อมูลต่างๆ พร้อมกันได้ในคราวเดียว


Binary MRIS จุดเด่นของเทคโนโลยี

  • สามารถเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับระบบ HIS ของโรงพยาบาลได้หลากหลาย เช่น HomC, HOSxP, PROTEUS, Mrecord, BHIS เป็นต้น
  • มีความเร็วในการจัดเก็บ การเรียกใช้ ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ รวมไปถึงเสถียรภาพของระบบสูง
  • การรวบรวมข้อมูลภาพเอกสารผู้ป่วยที่กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ เข้ามาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
  • การรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายพยาธิสภาพของผู้ป่วยในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพจากการบันทึกด้วย กล้องถ่ายภาพทั่วไป, Smart Phone, กล้องส่องอวัยวะภายใน, กล้องจุลทัศน์, อุปกรณ์ถ่ายภาพ จอประสาทตา รวมไปถึงภาพถ่ายทางนิติเวชวิทยา รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์อื่นๆ
  • การรวบรวมภาพที่เกิดจากการสร้างภาพเอกสารด้วยลายมือเขียน บนแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-fom โดยใช้อุปกรณ์หน้าจอสัมผัส
  • สามารถสืบค้นเอกสารผู้ป่วยย้อนหลังได้ทุกที่ ทุกเวลาภายในโรงพยาบาล ตามสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสาร
  • สามารถเชื่อมโยงระบบข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกันกับระบบ HIS, LIS และ PACS ของโรงพยาบาลได้
  • ช่วยร่นระยะเวลาในการเดินเอกสารระหว่างจุดงานโดยการจัดทำระบบ Image Workflow เช่น การรับส่ง เอกสาร ใบสั่งยาจากห้องตรวจ หรือหอผู้ป่วยมายังห้องเภสัชกรรมเป็นต้น